การแปลภาษาที่ดี

       การแปลภาษาถือกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์เริ่มรู้จักการแปล โดยมีการค้นพบหลักฐานงานแปลชิ้นแรกของโลกเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ถูกขุดพบบริเวณเมืองเอบลาซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของประเทศซีเรียในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นที่โครงสร้าง และรูปแบบเดิมของภาษาต้นฉบับไว้ให้ได้มากที่สุด ต่อมาเมื่อมีผู้แปลงานอย่างกว้างขวางมากขึ้น ขอบเขตของการแปลก็ค่อยๆ ขยายออกไป กลายเป็นเครื่องมือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในแขนงต่าง ๆ ระหว่างผู้คนที่ใช้ภาษาต่างกัน ยิ่งวิทยาการก้าวหน้าไปมากเท่าใด การแปลก็ยิ่งมีบทบาทสำคัญมากเท่านั้น การแปลเป็นเสมือนสะพานที่ช่วยให้การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสามารถกระทำได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์แคบลง

       หากจะพิจารณาในแง่มุมของสังคมและความเป็นอยู่ ยังอาจกล่าวได้ว่าการแปลมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อชีวิตและความมั่นคงของมนุษย์ การแปลหมายถึง การถ่ายทอดความหมายของสารในต้นฉบับภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง คำว่า translate ซึ่งหมายถึง การแปลมีรากศัพท์มาจากคำว่า translatum ซึ่งเป็นรูปหนึ่งของคำว่า transferre ซึ่งหมายถึง ถ่ายทอด หรือ ส่งผ่าน ด้วย นักแปลจึงทำหน้าที่เสมือนตัวกลางในการสื่อสารผู้ถ่ายทอดความหมาย โดยการนำเอาความหมายทั้งหมดจากต้นฉบับ มาถ่ายทอดให้เป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะต้องรักษาความหมายเดิมไว้แล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาให้สละสลวย และสอดคล้องกับจารีตของภาษานั้นด้วย

       การแปล คือ การถ่ายทอดความหมาย โดยการนำเอาความหมายทั้งหมดจากต้นฉบับมาถ่ายทอดให้เป็นบทแปลในอีก ภาษาหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะต้องรักษาความหมายเดิมไว้แล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติและ สอดคล้องกับจารีตของภาษานั้นอย่างแท้จริง” จากข้อความที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการแปลมิได้เป็นเพียงการนำเสนอหรือถ่ายทอดความหมายของคำที่ผูกกันเป็น ประโยคเท่านั้น หากแต่หมายรวมถึงความเข้าใจในโครงสร้าง ไวยากรณ์ ตลอดจนบริบทในการสื่อสารและวัฒนธรรมนั้น ๆ เพื่อ จะสามารถนำองค์ประกอบเหล่านี้มาถ่ายทอดจากภาษาหนึ่ง ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ภาษาต้นทาง” เป็นอีกภาษาหนึ่งซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ภาษาปลายทาง” ได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมชาติโดยพยายามคงความหมายและรูปแบบของภาษาต้นทางให้ได้มากเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความรู้สึกที่ไม่แตกต่างจากผู้อ่านต้นฉบับ เนื่องจากในความเป็นจริงจะต้องสามารถสื่อ ความหมาย โดยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเสนอความหมายตามความเหมาะสม เพื่อถ่ายทอดสารจากภาษาต้นทาง ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นธรรมชาติในภาษาปลายทาง แม้ว่าในบางครั้งบทแปลอาจไม่ค่อยตรงกับต้นฉบับนักก็ตาม

       งานแปลที่ดี จึงถือเป็นงานที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ หากผู้แปลเรียนรู้และเข้าใจเพียงทฤษฎีการแปลเพียง อย่างเดียวโดยปราศจากการฝึกฝน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นงานแปลที่ขาดคุณภาพ อีกทั้งประสบการณ์ในการแปล การทดลองลงมือแปลเพื่อให้เห็นข้อถูกผิด และตระหนักถึงความบกพร่องในการแปลของตนจะเป็นสิ่งที่ช่วยบ่มเพาะ ความสามารถในการแปลให้มีพัฒนาการที่ดีต่อไป